สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ คัดเลือก Active Learning ระดับเขตพื้นที่การศึกษา |
2023-08-17 จำนวนการดู 512 ครั้ง
|
นายทวี ทะนอก ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ เป็นประธานเปิดการประชุมคัดเลือกผลงานโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ณ หอประชุมพิมานพรหม สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ |
|
เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๖ นายทวี ทะนอก ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ เป็นประธานเปิดการประชุมคัดเลือกผลงานโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ณ หอประชุมพิมานพรหม สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อคัดเลือกสถานศึกษาต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ๑๔ ด้าน คณะกรรมการคัดเลือกประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ จำนวน ๗๐ คน โดยมี นางสาวพรทิพย์ ทวีวัฒน์โสภา รอง ผอ.สพป.เชียงใหม่ เขต ๓ (ช่วยราชการ) เป็นผู้กล่าวรายงาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายในการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วน สพฐ. QUICK POLICY ๒๕๖๕ ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ผ่านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และได้จัดทำโครงการจัดงานวิชาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกนการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๑ จึงได้จัดประชุมคัดเลือกผลงานโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
การคัดเลือกสถานศึกษาต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ๑๔ ด้าน ดังนี้ (๑) โรงเรียนต้นแบบการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย (๒) โรงเรียนต้นแบบการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน (๓) โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ (๔) โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่ใช้ Soft Power เป็นสื่อหรือสถานการณ์การเรียนรู้ (๕) โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้ STEAM ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG (๖) โรงเรียนต้นแบบการออกแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพหุปัญญา (๗) โรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรู้ภาษาไทย (๘) โรงเรียนการพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาไทยเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (๙) โรงเรียนต้นแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (๑๐) โรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรู้เชิงรุกภาษาต่างประเทศที่สอง (๑๑) โรงเรียนต้นแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน (๑๒) โรงเรียนต้นแบบห้องเรียนกีฬา (๑๓) โรงเรียนต้นแบบการดำเนินกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (YC : YOUTH COUNSELOR) และ (๑๔) โรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เชิงรุก
|
สุวรี เจริญรัมย์ ... รายงาน